วันพุธที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2556

ก่าจะจบ ม.3

 การ ที่จะจบ ม.3ได้นั่น มีแต่ความลำบาก ทุกคนที่ต้องการที่จะจบ ม.3 ความมั่นเพียร ขยันผม                      นายลัทธพล ปุราชะโต ชื่อเล่น มอส ก่าจะจบ ม.3 ได้ มันเหนื่อยมาก  มีความรับผิดชอบ ต่อตัวเอง
ต่องานที่ทำ ต้อง ตั้งใจและสนใจเรียน จะผลัดวันประกันพรุ่งไม่ได้เลย ผมสาบานว่าผมจะตั้งใจเรียนไห้จบ ม.6 ขอขอบคุณครูรองที่ทำไห้ผมจบม.6 ได้่

เทคโนโลยีสะอาด

เทคโนโลยีสะอาด (Clean Technology)
CT คืออะไร
             การจัดการสิ่งแวดล้อมในอดีตที่ผ่านมา มุ่งเน้นการบำบัดมลพิษที่ปลายทางหรือปลายท่อ (End of pipe) เป็นส่วนใหญ่ เช่น การบำบัดน้ำเสีย มลพิษทางอากาศและกากของเสียต่างๆเป็นต้น ด้วยหวังว่าการกำจัดและควบคุมปริมาณมลพิษที่ปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อมนั้น จะสามารถยับยั้งหรือชะลอกการเสื่อมถอยของสภาพแวดล้อมจากมลพิษที่ปล่อยออกได้ อย่างไรก็ดี เป็นที่ทราบทั่วไปว่าสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันกำลังเสื่อมโทรมลงทุกขณะซึ่งยืนยันถึงความไม่เพียงพอและด้อยประสิทธิภาพของการจัดการมลพิษด้วยการบำบัด นอกจากนี้การบำบัดมลพิษส่วนใหญ่มีค่าใช้จ่ายสูงและเป็นภาระของผู้ประกอบการโรงงานอยู่ตลอดเวลา และในมุมมองของผู้ประกอบการเองถือว่าเป็นการลงทุนที่ไม่ก่อให้เกิดผลกำไร ยิ่งไปกว่านั้นของเสียหรือมลพิษที่บำบัดแล้วส่วนใหญ่เป็นเพียงการเปลี่ยนของเสียหนึ่งเป็นอีกสถานะหนึ่งเท่านั้น จึงจัดได้ว่าเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ซึ่งยังไม่ใช่วิธีการจัดการสิ่งแวดล้อมที่มีประสิทธิภาพและคุ้มค่าการลงทุน
  ดังนั้น การจัดการสิ่งแวดล้อมที่จะมีประสิทธิภาพและสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ ต้องมีแนวคิดที่เปลี่ยนไปจากเดิม โดยมุ่งเน้นที่เป็นการจัดการที่สามารถก่อให้เกิดประโยชน์ทั้ง 2 ด้านไปพร้อมๆกัน กล่าวคือก่อให้เกิดผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจควบคู่ไปกับการรักษาสิ่งแวดล้อม     
waste manage การจัดลำดับการจัดการของเสีย เทคโนโลยีสะอาด (Clean Technology / CT) เป็นแนวทางหนึ่งของการจัดการในลักษณะของการป้องกันมลพิษ (Pollution prevention) ที่มีการประยุกต์และผสมผสานกลยุทธ์ต่างๆ เพื่อให้การดำเนินกิจกรรมของภาคการผลิตให้มีการป้องกันหรือลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปกับการพัฒนาศักยภาพในการผลิตของภาคอุตสาหกรรมโดยใช้หลักการ ลดของเสียให้เหลือน้อยที่สุด (Waste Minimization) ซึ่งประกอบด้วยการเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิตหรือการเปลี่ยนวัตถุดิบที่ทำให้เกิดผลพลอยได้ที่ไม่เป็นอันตราย รวมทั้งการลดปริมาณและ ความเข้มข้นขององค์ประกอบในของเสียด้วยการนำไปใช้ซ้ำ (Reuse) หรือการนำกลับไปใช้ใหม่ (Recycle) จนไม่สามารถนำของเสียไปใช้ประโยชน์ได้แล้ว ก็จะนำไปบำบัดให้ถูกต้องตาม หลักวิชาการต่อไป โดยมีการดำเนินการอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง ดังนั้นเทคโนโลยีสะอาดจึงได้รับการยอมรับว่าเป็นเครื่องมือการจัดการในเชิงรุกที่มีประสิทธิภาพในการจัดการสิ่งแวดล้อมในยุคปัจจุบัน
 หลักการเทคโนโลยีสะอาด
       1. วิธีการลดมลพิษที่แหล่งกำเนิด     
1.1       การเปลี่ยนแปลงผลิตภัณฑ์(Product Reformulation)                                                                                                                         
        1.2  การเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิต(Process Change)
         –     การเปลี่ยนแปลงวัตถุดิบ (Input Material Change)    
               การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี(Technology Improvement
             การปรับปรุงกระบวนการดำเนินงาน(Operational Improvement)  
              2. การใช้ซ้ำหรือการนำกลับมาใช้ใหม่
              2.1  การใช้ซ้ำ (Reuse)
              2.2  การนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle)
                 CT GL1           
การใช้เทคโนโลยีสะอาด
            1. การจัดซื้อผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
                        กรมควบคุมมลพิษได้ศึกษาคัดเลือก และจัดทำเกณฑ์ข้อกำหนดสำหรับสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทั้งหมด 17 ประเภท ได้แก่ สินค้า14 ประเภท และบริการ 3 ประเภทดังต่อไปนี้
                        1.1 กระดาษคอมพิวเตอร์ กระดาษสีทำปก              1.10 ปากกา
                                  ไบอร์ด                                                                                                                                                                                        1.2 กระดาษชำระ                                                   1.11 ผลิตภัณฑ์ลบคำผิด
                        1.3 กล่องใส่เอกสาร                                               1.12 แฟ้มเอกสาร
                        1.4 เครื่องถ่ายเอกสาร                                             1.13 สีทาอาคาร
                        1.5 เครื่องพิมพ์                                                      1.14 หลอดฟลูออเรสเซนต์
                        1.6 เครื่องเรือนเหล็ก                                               1.15 บริการทำความสะอาด
                        1.7 ซองบรรจุภัณฑ์                                                1.16 บริการโรงแรม
                        1.8 ตลับหมึก                                                        1.17 บริการเช่าเครื่องถ่ายเอกสาร
                        1.9 แบตเตอรี่ปฐมภูมิ
               2. น้ำและการจัดการน้ำเสีย
            2.1 การลดปริมาณการใช้น้ำ
            2.2 การปรับปรุงระบบบำบัดน้ำเสีย
            2.3 เปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีการบำบัดน้ำเสีย
            2.4 ปรับปรุงกระบวนการดำเนินการ
เอกสารเพิ่มเติม : - น้ำและการจัดการน้ำเสีย
            3. การจัดการขยะ
                        การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า ก่อให้เกิดปริมาณขยะให้น้อยลง จึงมีการนำแนวทางการลด คัดแยก และนำขยะมูลฝอยกลับมาใช้ใหม่ (Reduce Reuse and Recycle: 3Rs) มาประยุกต์ใช้ โดยใช้วิธีการลดการใช้วัสดุ/ผลิตภัณฑ์เพื่อลดปริมาณขยะที่เกิดขึ้น (Reduce) มีการนำวัสดุ/ผลิตภัณฑ์ที่ยังสามารถใช้งานได้กลับมาใช้ซ้ำ (Reuse) และนำเศษวัสดุ/ผลิตภัณฑ์ที่ใช้งานแล้วมาแปรรูปเพื่อนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ (Recycle) โดยมีตัวอย่างและวิธีง่ายๆ ดังนี้
                     3.1  ลดการใช้ (Reduce)
                                     3.1.1 ปฏิเสธหรือหลีกเลี่ยงสิ่งของหรือบรรจุภัณฑ์ที่จะสร้างปัญหา   (Refuse)                     
                                - ปฏิเสธการใช้บรรจุภัณฑ์ฟุ่มเฟือย รวมทั้งขยะที่เป็นมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม อาทิเช่น กล่องโฟม ถุงพลาสติก หรือขยะมีพิษอื่น ๆ
                              หลีกเลี่ยงการเลือกซื้อสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่ใช้บรรจุภัณฑ์ห่อหุ้มหลายชั้น
                                                            -หลีกเลี่ยงการเลือกซื้อสินค้าชนิดใช้ครั้งเดียว หรือผลิตภัณฑ์ที่มีอายุการใช้งานต่ำ
                                                             - ไม่สนับสนุนร้านค้าที่กักเก็บและจำหน่วยสินค้าที่ใช้บรรจุภัณฑ์ฟุ่มเฟือยและไม่มีระบบเรียกคืนบรรจุภัณฑ์ใช้แล้ว
                                                    - กรณีการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ประจำบ้านที่ใช้เป็นประจำ เช่น สบู่ ผงซักฟอก น้ำยาล้างจาน ให้เลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีขนาดบรรจุใหญ่กว่า
                                                      เนื่องจากใช้บรรจุภัณฑ์น้อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับหน่วยน้ำหนักของผลิตภัณฑ์
                                                    - ลดหรืองดการบริโภคที่ฟุ่มเฟือย โดยเลือกใช้สินค้าหรือผลิตภัณฑ์ให้เหมาะสมกับความต้องการ
                                     3.1.2 เลือกใช้สินค้าที่สามารถส่งคืนบรรจุภัณฑ์สู่ผู้ผลิตได้ (Return)
                                                    - เลือกซื้อสินค้าหรือใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีระบบมัดจำ - คืนเงิน เช่น ขวดเครื่องดื่มประเภทต่าง ๆ
                                                    - เลือกซื้อสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่สามารถนำกลับไปรีไซเคิลได้ หรือมีส่วนประกอบของวัสดุรีไซเคิล เช่น ถุงช๊อปปิ้ง โปสการ์ด ฯลฯ
                                                    - เลือกซื้อสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่ผู้ผลิตเรียกคืนซากบรรจุภัณฑ์ หลังจากการบริโภคของประชาชน
                         3.2 ใช้ซ้ำ (Reuse)
                                    ใช้ซ้ำ เป็นหนึ่งในแนวทางการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีอยู่อย่างรู้คุณค่า การใช้ซ้ำเป็นการที่เรานำสิ่งต่างๆ ที่ใช้งานไปแล้ว และยังสามารถใช้งานได้ กลับมาใช้อีก เป็นการลดการใช้ทรัพยากรใหม่ รวมทั้งเป็นการลดปริมาณขยะที่จะเกิดขึ้นอีกด้วย ตัวอย่างของการใช้ซ้ำ เช่น
                                                   - เลือกซื้อหรือใช้ผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบมาให้ใช้ได้มากกว่า 1 ครั้ง เช่น แบตเตอรี่ประจุไฟฟ้าใหม่ได้
                                                   - ซ่อมแซมเครื่องใช้ และอุปกรณ์ต่างๆ (Repair) ให้สามารถใช้ประโยชน์ต่อไปได้อีก
                                                   - บำรุงรักษาเครื่องใช้ อุปกรณ์ต่างๆ ให้สามารถใช้งานได้คงทนและยาวนานขึ้น
                                                   - นำบรรจุภัณฑ์และวัสดุเหลือใช้อื่นๆ กลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ เช่น การใช้ซ้ำถุงพลาสติก ถุงผ้า ถุงกระดาษ และกล่องกระดาษ การใช้ซ้ำ
                                                     ขวดน้ำดื่ม เหยือกนม และกล่องใส่ขนม
                                                   - ยืม เช่า หรือใช้สิ่งของหรือผลิตภัณฑ์ที่ใช้บ่อยครั้งร่วมกัน เช่น หนังสือพิมพ์ วารสาร
                                                   - บริจาคหรือขายสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ เช่น หนังสือ เสื้อผ้า เฟอร์นิเจอร์ และเครื่องมือใช้สอยอื่นๆ
                                                   - นำสิ่งของมาดัดแปลงให้ใช้ประโยชน์ได้อีก เช่น การนำยางรถยนต์มาทำเก้าอี้ การนำขวดพลาสติกมาดัดแปลงเป็นที่ใส่ของ แจกัน การนำ
                                                     เศษผ้ามาทำเปลนอน เป็นต้น
                                                   - ใช้ซ้ำวัสดุสำนักงาน เช่น การใช้กระดาษทั้งสองหน้า เป็นต้น
                         3.3 รีไซเคิล (Recycle)
                                      รีไซเคิล เป็นการนำวัสดุต่างๆ อย่างเช่น กระดาษ แก้ว พลาสติก เหล็ก อะลูมิเนียม ฯลฯ มาแปรรูปโดยกรรมวิธีต่างๆ เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งนอกจากจะเป็นการลดปริมาณขยะมูลฝอยแล้ว ยังเป็นการลดการใช้พลังงานและลดมลพิษที่เกิดกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งเราสามารถทำได้โดย
                                                   - คัดแยกขยะรีไซเคิลแต่ละประเภท ได้แก่ แก้ว กระดาษ พลาสติก โลหะ/อโลหะ เพื่อให้ง่ายต่อการนำไปรีไซเคิล
                                       - นำไปขาย/บริจาค/นำเข้าธนาคารขยะ/กิจกรรมขยะแลกไข่ เพื่อเข้าสู่วงจรของการนำกลับไปรีไซเคิล
ตัวอย่างแนวทางการใช้เทคโนโลยีสะอาดในอาคารประเภทต่างๆ
ที่ที่มาhttp://ptech.pcd.go.th

ทักษะที่จำเป็นต่อการประกอบอาชีพ


ทักษะกระบวนการทำงานหมายถึง 
การลงมือทำงานต่างๆด้วยตนเอง
โดยมุ่งเน้นการฝึกฝนวิธีการทำงานอย่างสม่ำเสมอ  เพื่อให้ทำงานได้สำเร็จและบรรลุตามเป้าหมาย
โดยมีขั้นตอนต่างๆดังนี้
1.การวิเคราะห์งาน  
เป็นการมองภาพรวมของงานเมื่อได้รับมอบหมาย ว่าเป้าหมายของงานคืออะไรผลลัพธ์ของงานที่จะทำคืออะไรและจะทำอย่างไรให้งานนั้นบรรลุเป้าหมาย
2.การวางแผนในการทำงาน   เป็นการกำหนดเป้าหมายของงาน
ระยะเวลาดำเนินงานกำลังคนที่ใช้ในการทำงาน
ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานและได้ผลลัพธ์ตามต้องการ
3.การลงมือทำงาน  เป็นการลงมือทำงานตามแผนที่วางไว้
ด้วยความมุ่งมั่นอดทนและรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมายจนสำเร็จ
4.การประเมินผลการทำงาน
เป็นการตรวจสอบทดสอบหรือทดลองใช้ตั้งแต่การวางแผนการทำงานว่ารอบคอบ รัดกุม
ครอบคลุม และสามารถปฏิบัติตามได้หรือไม่
ตลอดจนประเมินผลงานที่ทำสำเร็จแล้วว่ามีคุณภาพหรือไม่
ทักษะกระบวนการแก้ปัญหา
ทักษะกระบวนการแก้ปัญหามีขั้นตอนดังนี้
1.สังเกต
นักเรียนควรฝึกตนเองให้เป็นคนช่างสังเกต
2.วิเคราะห์   เมื่อทราบและเข้าใจถึงปัญหาที่เกิดขึ้นแล้ว
ควรวิเคราะห์ปัญหาที่มี มีมากน้อยเพียงใด
ลำดับความสำคัญของปัญหาและวิเคราะห์สาเหตุ
3.สร้างทางเลือก 
เมื่อวิเคราะห์เรียงลำดับปัญหาได้แล้ว ว่าควรแก้ปัญหาใดก่อน
ปัญหาใดหลังและเมื่อวิเคราะห์ทีละปัญหาหาสาเหตุของแต่ละปัญหาได้ควรสร้างทางเลือก
4.ประเมินทางเลือก 
ทางเลือกต่างๆที่สร้างขึ้นมาจาการศึกษาค้นคว้าหรือการตรวจอบต่างๆควรพิจารราให้ละเอียดว่าทางใดที่เหมาะสมกับการแก้ไขปัญหามากที่สุด



ทักษะการทำงานรวมกัน
 ทักษะการทำงานรวมกัน
หมายถึง การทำงานร่วมกันผู้อื่นให้สำเร็จลุล่วงไปได้อย่างมีความสุขและปราศจากความขัดแย้งมีหลักการดังนี้
1.รู้จักบทบาทหน้าที่ภายในกลุ่ม
ในการทำงานร่วมกันกับผู้อื่นนั้นควรรู้จักหน้าที่และความรับผิดชอบของตนเอง
2.มีทักษะในการฟัง พูด แสดงความคิดเห็นและอภิปรายในกลุ่ม  เมื่อทำงานร่วมกับบุคลอื่น
ควรฝึกฝนที่จะเป็นผู้ฟังที่ดียอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ควรฝึกทักษะการพูด
ให้พูดจาสุภาพ รู้จักโน้มน้าว ชักจูงจิตใจ รักษาน้ำใจเพื่อนร่วมงาน
3.มีคุณธรรมในการทำงานร่วมกัน  เพื่อความสุขในการทำงานร่วมกับผู้อื่น
และหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดความขัดแย้ง
ด้วยการมีความรับผิดชอบต่อหน้าของตนเองที่ได้รับมอบหมาย
4.สรุปผลโดยการทำรายงาน 
การทำงานกลุ่มใดๆก็ตาม ควรมีการสรุปผลออกมาอย่างเป็นรูปธรรม
อาจอยู่ในรูปแบบของการจัดทำรายงาน
5.นำเสนอรายงาน  
เมื่อมีรายงานออกมาอย่างชัดเจน เป็นเอกสารแล้ว
ควรมีทักษะในการนำเสนอรายงานการปฏิบัติงานของกลุ่มในรูปแบบต่างๆ

ทักษะการแสวงหาความรู้
     ทักษะการแสวงหาความรู้
คือ การค้นคว้าหาความรู้ และสามารถสร้างความรู้ใหม่เพิ่มเติมได้อาจจะมาจากการคิด
การศึกษา การทดลอง กาวค้นคว้า หรือปฏิบัติด้วยตนเอง
ทักษะการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
สามารถฝึกฝนได้จากการปฏิบัติต่อไปนี้
1.กำหนดปัญหาในการสืบค้นข้อมูลความรู้  คือการตั้งหัวข้อ ตั้งประเด็นในการศึกษาค้นคว้า
กำหนดขอบเขตของหัวข้อหรือประเด็นที่ต้องการจะค้นคว้า
2.การวางแผนในการสืบค้นข้อมูลความรู้  เมื่อคิดหาหัวข้อหรือประเด็นที่เราต้องการจะสืบค้นได้แล้ว
ควรวางแผน กำหนดเป้าหมายว่าจะสืบค้นข้อมูลที่ใด อย่างไร
3.การดำเนินการสืบค้นข้อมูลความรู้ตามแผนที่กำหนดไว้ คือ
การดำเนินการสืบค้นข้อมูลความรู้ในหัวข้อที่ต้องการ ตามแผนที่วางไว้
4.การวิเคราะห์ข้อมูลจาการสืบค้นความรู้ คือ
การนำข้อมูลต่างๆที่ได้ค้นคว้า หรือได้รับมา
มาพิจารณาอย่างละเอียดถึงองศ์ประกอบและความสัมพันธ์ของข้อมูล
5.การสรุปผลจากการสืบค้นความรู้และจดบันทึกจัดเก็บ
เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆได้ออกมาตามขอบเขตของหัวข้อที่กำหนดไว้ตั้งแต่เริ่มต้น
ควรบันทึกจัดเก็บข้อมูลที่รวบรวมมาได้ต่างๆในรูปแบบที่ง่ายต่อการค้นคว้า
ทักษะการจัดการ
ทักษะการจัดการ
  หมายถึง ความสามารถของบุคคลหนึ่งที่สามารถจะจัดระบบงาน
และระบบคนให้ทำงานสำเร็จได้ตามเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ ทักษะการจัดการ
แบ่งออกได้เป็น 2. กลุ่มดังนี้
1.การจัดการระบบงาน (การทำงานเดี่ยว)
โดยสามารถจัดสรรเวลาการทำงานให้เป็นระบบ ปฏิบัติงานตามกฎระเบียบแบบแผน
และขั้นตอนต่างๆรวมไปถึงการเป็นผู้ทีมองการณ์ไกล ฉลาด มีไหวพริบ รอบรู้ ทันคน
ทันเหตุการณ์ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
2.การจัดการระบบคน(การทำงานกลุ่ม)  โดยสามารถในการคัดเลือกคนเข้าทำงาน แบ่งปัน
จัดสรรคนให้เหมาะสมกับงาน มีความสามารถในการสร้างบรรยากาศในการทำงานสามารถชักจูงเพื่อนร่วมงานให้มีเป้าหมายเดียวกันร่วมมือร่วมใจกันทำงานจนสำเร็จ 
ที่มาhttp://www.thaigoodview.com

มหัศจรรย์สมุนไพรไทย


 
           คนสมัยนี้เป็นอะไรนิดหน่อยก็ชอบกินยา แถมยังเชื่อผิดๆว่า อยากมีสุขภาพดีชีวิตยืนยาว ต้องโด๊ปอาหารเสริม และวิตามินเยอะๆ เจ้าแม่วงการอาหารเมืองไทย "คุณหรีด - รพีพรรณ เหลืองอร่ามรัตน์"   ยืนยันจากประสบการณ์ทั้งชีวิตว่าในโลกนี้ไม่มีอะไรจะมหัศจรรย์เท่ากับสมุนไพรไทย...เชื่อคุณหรีด!! ทั้งราคาถูก ปลูกเองก็ง่าย และเป็นยาสามัญประจำบ้าน ที่ต้านโรคภัยได้สารพัดนึก

           โรคมะเร็ง

           ถือเป็นโรคร้ายที่คร่าชีวิตคนไทยสูงเป็นอันดับสาม รองจากโรคหัวใจ และอุบัติเหตุ เกิดได้จากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นกรรมพันธุ์ ความบกพร่องทางพันธุกรรม สิ่งแวดล้อม อาหาร รวมถึงความเครียด และการใช้ชีวิตเร่งรีบของคนเมือง "มะเร็ง" กลัวสมุนไพรไทยอยู่หลายตัวค่ะ เพราะมีสารอาหารต้านโรคร้ายได้น่าทึ่ง

           ใครอยากห่างไกลมะเร็ง แนะนำให้ทาน กระเทียม และผักจำพวกหอม ซึ่งอุดมด้วยซัลเฟอร์ ช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันต้านทานมะเร็งโดยธรรมชาติ ขณะที่ผักจำพวกกะหล่ำปลี มีสารต้านทานมะเร็งในลำไส้ และช่วยต้านมะเร็งต่อมลูกหมาก ส่วนขมิ้นขาวและขมิ้นชัน นอกจากจะมีสรรพคุณขับลมในลำไส้แล้ว ยังมีสารช่วยป้องกันมะเร็งลำไส้ด้วย สำหรับสาวๆ ควรทานผลไม้จำพวกส้มเป็นประจำ เพราะช่วยล้างสารก่อมะเร็ง และยับยั้งเซลล์มะเร็งเต้านม

           แพทย์ทางเลือกยังได้ค้นพบความมหัศจรรย์ของ มะรุม สมุนไพรไทยแท้ๆ ว่ากันว่า หากทานอย่างสม่ำเสมอจะช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง โดยคนเฒ่าคนแก่นิยมกินมะรุมช่วงต้นฤดูหนาว เพราะเป็นช่วงที่ฝักมะรุมหาได้ง่าย วิธีทานมีทั้งการนำช่อดอกมะรุมไปดองเก็บไว้กินกับน้ำพริก หรือนำยอดมะรุมใบอ่อนช่อดอก และฝักอ่อนมาลวก หรือต้มให้สุก จิ้มทานกับน้ำพริก หรือจะใช้ยอดอ่อนและช่อดอกทำแกงส้ม ก็อร่อยดี มีประโยชน์ ยังมีการวิจัยด้วยว่า คนที่ทำคีโมรักษามะเร็งควรดื่มน้ำมะรุม ช่วยลดอาการแพ้รังสีได้ดี

           โรคเบาหวาน

           คนอ้วน คือกลุ่มเสี่ยงที่จะเป็นเบาหวาน อาการบ่งชี้ ได้แก่ มีปริมาณกลูโคสในเลือดสูง เนื่องจากความผิดปกติในการทำงานของอินซูลิน ปัสสาวะบ่อย กระหายน้ำรุนแรง น้ำหนักลด อ่อนเพลีย อยากอาหารมากกว่าปกติ ติดเชื้อง่าย มีอาการแทรกซ้อนจากโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคไต และมีปัญหาทางสายตา การรักษาโรคเบาหวานอย่างได้ผล ต้องทำควบคู่กับการวางแผนทางโภชนาการค่ะ

           โดยสมุนไพรไทยที่มีฤทธิ์ต้านเบาหวาน อาทิเช่น มะแว้งเครือ และมะแว้งต้น ช่วยรักษาโรคเบาหวาน บำรุงเลือด และขับปัสสาวะ รวมทั้งรักษาโรคไต ฟักทอง ช่วยป้องกันมะเร็งในปอด ป้องกันเบาหวาน และคุมน้ำตาลในเลือด ตำลึง มีสรรพคุณเป็นยาดับพิษภายในร่างกาย ลดอาการไข้ และเป็นยาระบายอ่อนๆ ผลดิบของตำลึงนำมาปรุงเป็นอาหารช่วยรักษาเบาหวานได้ ผักบุ้ง ไม่ได้ทำให้ตาหวานอย่างเดียว แต่ยังบำรุงกระดูก ลดไข้และแก้เบาหวาน ส่วนมะระขี้นก เชื่อว่าช่วยบำรุงน้ำดี แก้โรคตับอักเสบ และป้องกันโรคเบาหวาน แม้แต่ มะรุม ก็มีสรรพคุณในการรักษาโรคเบาหวานด้วยเช่นกัน
          
           โรคอ้วน

           คนอ้วนมีความเสี่ยงเป็นโรคสารพัด ทั้งเบาหวาน มะเร็ง ความดันโลหิตสูง หัวใจ และโรคข้ออักเสบ การลดน้ำหนักที่ได้ผลที่สุดสำหรับคนอ้วน คือ ต้องทำค่อยเป็นค่อยไป นอกจากจะจำกัดปริมาณอาหาร หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และออกกำลังกายสม่ำเสมอแล้ว การเลือกทานสมุนไพรเพื่อกระตุ้นระบบเผาผลาญพลังงานในร่างกาย ก็เป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์พิชิตโรคอ้วน ควรทาน แมงลัก เพื่อช่วยดูดซึมน้ำตาลในเส้นเลือด ทำให้ขับถ่ายสะดวก และลดน้ำหนักได้หลายกิโล

           ส่วนกระเจี๊ยบมอญ ลดความดันโลหิต รักษาโรคกระเพาะ และเป็นยาระบายชั้นดี แตงโม เป็นยาระบายอ่อนๆ น้ำแตงโมปั่นยังช่วยล้างลำไส้และกระเพาะอาหาร มะละกอ ลดอาการท้องอืดท้องเฟ้อ เป็นยาระบาย และมะม่วงสุก ระบายของเสียภายในได้ดี ช่วยแก้อ่อนเพลีย

           โรคเครียด

           ความเครียดถือเป็นตัวการให้เกิดโรคร้ายนับไม่ถ้วน ยิ่งภาวะเศรษฐกิจอย่างนี้ บอกได้คำเดียวว่า ใครไม่เครียดก็บ้าแล้ว!! สมุนไพรไทยที่ช่วยลดความเครียดและทำให้นอนหลับสบาย คือ สายบัว ช่วยลดอาการเกร็งของลำไส้ และกระเพาะ ลดความเครียดทางสมอง กะหล่ำปลี ช่วยลดความเครียด มีสารต้านทานมะเร็งในลำไส้

           ขี้เหล็ก แก้นิ่วในไต ทำลายเชื้อมะเร็ง เป็นยานอนหลับชั้นดี ใบบัวบก แก้ร้อนใน ทำให้ความจำดี ช่วยลดความเครียด ฟ้าทะลายโจร แก้อาการปวดหัวแบบไม่มีสาเหตุ มะนาว - มะกรูด ช่วยให้นอนหลับ บรรเทาอาการอาหารไม่ย่อย  และพริกไทย ทำให้สมองปลอดโปร่ง ช่วยลดเครียดได้ผลดี

           โรคภูมิแพ้

           เป็นโรคที่เกิดจากปฏิกิริยาภูมิไวเกินไปต่อสารก่อภูมิแพ้ ซึ่งคนปกติอาจไม่มีปฏิกิริยานี้เกิดขึ้น คนที่เป็นโรคภูมิแพ้ มีทั้งแพ้ฝุ่น ตัวไรฝุ่น เชื้อราในอากาศ อาหาร ขนสัตว์ เกสรดอกไม้ อาการมีได้หลายแบบ ตั้งแต่น้ำมูกไหล จาม โพรงจมูกอักเสบ เยื่อบุตาอักเสบ หลอดลมอักเสบ หอบหืด และเกิดผื่นคันที่ผิวหนัง การต่อสู้กับโรคภูมิแพ้ จะต้องเพิ่มภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย

           โดยสมุนไพรไทยที่มีสรรพคุณด้านนี้ ต้องยกให้ กะหล่ำดอก บำรุงภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง และป้องกันโรคมะเร็งเต้านม ขณะที่ขึ้นฉ่าย มีสรรพคุณช่วยให้เจริญอาหาร เพิ่มภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย บำรุงไตให้แข็งแรง ถ้านำมาปั่นกับแครอท ผสมน้ำส้มดื่มทุกเช้า จะช่วยให้สุขภาพดีเหลือเชื่อ

 ที่มีhttp://www.thaihealth.or.th

การหางาน


การเตรียมตัวก่อนไปสมัครงาน
        การสมัครงานเหมือนกับการไปเสนอขายสินค้า ซึ่งจำเป็นจะต้องเตรียมตัวให้ดี การเตรียมตัวก่อนสมัครงานเป็นสิ่งจำเป็น จะต้องเริ่มตั้งแต่ก่อนจบการศึกษาในแต่ละปีจะมีผู้จบการศึกษาทั้งระดับปริญญาตรี อาชีวศึกษา ทั้งสายพาณิชย์ ช่างอุตสาหกรรมและครู ทั้ง ปวช. ปวส. ปีละหลายหมื่นคน กระจัดกระจายทั่วประเทศ ซึ่งรวมกันแล้วจะเป็นแสน ๆ คน และรวมกับผู้ที่ตกค้างจากปีก่อน ๆ ที่ยังไม่ได้งานทำอีกมาก        ความเชื่อที่ว่าเรียนเก่งหรือเรียนดีแล้วจะหางานง่ายนั้น อาจไม่เป็นจริงเสมอไป ในยุคปัจจุบัน การรับคนเข้าทำงานในทุกวันนี้นั้นจะพิจารณาสิ่งอื่น ๆ ประกอบด้วย เช่น บุคลิกภาพ ความคล่องตัว ความอดทน ความเป็นคนมีปฏิภาณไหวพริบ เป็นต้น การเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องราวต่าง ๆ ในการหางานทำหรือสมัครงานจึงเป็นการเตรียมพร้อมที่ดีและควรเข้าทำนองที่ว่า "ฟอร์มดีมีชัยไปกว่าครึ่ง" การจะไปหางานหรือไปสมัครงาน เราที่จะต้องรู้ว่ามีอะไรที่น่าสนใจในตัวเรา สิ่งที่น่าสนใจนั้นต้องเป็นสิ่งที่ผู้สมัครนั้นสนใจด้วยก็เหมือนกับว่าคุณเป็นเซลแมนหรือเซลวูแมนที่จะเสนอขายสินค้า การเสนอขายสินค้าได้ จำเป็นจะต้องมีเทคนิควิธีการต่าง ๆ ที่ทำให้ผู้ซื้อสินค้าพร้อมที่จะอยากได้สินค้าเอาไว้ ถ้าคุณทำได้ โอกาสที่คุณจะได้งานทำก็มีมาก การเตรียมตัวเพื่อการสมัครงาน และเพื่อให้สามารถหางานทำได้เร็วยิ่งขึ้นควรมีการเตรียมตัวดังนี้
        เตรียมหลักฐานการสมัครงาน
        ผู้สมัครงานจะต้องเตรียมหลักฐานการสมัครงานต่าง ๆ เช่น ใบรับรองผลการศึกษา, ใบสุทธิรูปถ่าย, บัตรประจำตัวประชาชนพร้อมสำเนา, สำเนาทะเบียนบ้าน, ใบปลด รด.,และหลักหลักฐานอื่น ๆ (ถ้ามี) หนังสือรับรองการฝึกงานจากผู้ที่เคยจ้างงาน หรือรับรองจากอาจารย์ที่ปรึกษา นอกจากหลักฐานการดังกล่าวแล้ว ผู้สมัครงานควรเตรียมเครื่องเขียนปากกา ยางลบ ดินสอ ซองจดหมาย หลักฐานการสมัครงานควร เตรียมเอาไว้หลาย ๆ ชุด เพื่อสมัครงานหลาย ๆ แห่ง
        เตรียมเครื่องแต่งตัว
        ผู้สมัครงานควรเตรียมเสื้อผ้า รองเท้าที่สุภาพ เรียบร้อย เหมาะสมกับบุคลิกภาพของตนเอง ไม่จำเป็นต้องมีราคาแพง เพียงแต่ให้ดูสะอาดตา ตลอดจนทรงผมไม่ควรที่จะรุงรังจนเกินไป
        เตรียมตัวเตรียมใจ
        ผู้สมัครงานนอกจากเตรียมหลักฐาน เตรียมเครื่องแต่งตัวแล้ว จะต้องมีการเตรียมใจ พูดง่าย ๆ ก็คือ เตรียมใจ เตรียมกาย และเตรียมสิ่งต่าง ๆ ที่จำเป็นหรือคิดว่าจำเป็นไว้ให้พร้อมเพราะว่าชีวิตที่อยู่ในวัยเรียนกับชีวิตที่อยู่ในวัยทำงาน มันแตกต่างกัน ถ้ายังอู่ในวัยเรียน ถ้าเรียน ไม่ดีก็สอบตก หรือเรียนซ้ำชั้น สอบใหม่ แก้ตัวใหม่ได้ ถ้าอยู่ในวัยทำงาน ทำผิดพลาด หรือผลงานไม่ดี อาจถูกตำหนิ หรือตักเตือน ภาคทัณฑ์ เพราะฉะนั้นจึงจำเป็นต้องปรับตัว ปรับใจ ปรับความรู้สึก พร้อมที่จะรับสภาพความเป็นผู้ใหญ่
        ก่อนสมัครงานควรรู้จักสิ่งเหล่านี้
        มนุษย์ทุกคนมีความสามารถและคุณค่าบางอย่างในตัวเองเสมอ หน้าที่ของคุณพยายามค้นหา (ถ้าคุณยังไม่รู้) ความสามารถนั้นในตัวเองและแสวงหางานที่เขาต้องการความสามารถนั้นให้เจอ ดังนั้น ก่อนที่จะตัดสินใจสมัครงานตำแหน่งงานใด ๆ ก็ตามควรคำนึงถึง 2 จุดนี้ คือ รู้เขารู้เรา ดังสุภาษิตจีนที่ว่า "รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง" นั่นเองต่อไปจะเป็นรายละเอียดในแต่ละหัวข้อ

     1. "การรู้จักตัวเอง" หรือ รู้เรา
        ทำไมจึงต้องรู้จักตนเอง ที่ต้องรู้จักตนเองก็เพราะการหางานก็คือการ "ขาย" ตนเองชนิดหนึ่งเป็นการเสนอขายความรู้ ความสามารถ ของตัวเองให้แก่บริษัทนั่นเอง โดยการรู้จักตนเองนี้ก็จะต้องผ่านบันได 9 ขั้น แห่งการเข้าใจตนเอง ดังต่อไปนี้
        ขั้นที่ 1 : ค้นหาทักษะ (SKILL)        จะเห็นว่าทักษะนั้นเป็นรากฐานของการทำงานทุกชนิด ไม่มีงานชนิดไหนเลยที่ไม่ต้องใช้ทักษะ ดังนั้นการค้นหาทักษะในตัวคุณจึงเป็นสิ่งจำเป็นอันดับแรกของการทำงานคนส่วนใหญ่มักจะไม่ค่อยสนใจที่จะทำความเข้าใจกับตัวเองว่าเขามีจุดเด่น หรือความสามารถอะไรบ้าง         เมื่อถูกถามในเวลาสัมภาษณ์จึงมักงงเป็นไก่ตาแตก ตอบไม่ถูก ทำให้กลายเป็นคนที่ดูเหมือนไม่มีจุดเด่นอะไร ไม่มีใครมีทักษะที่ไม่สามารถหางานทำได้ สมมุติว่า คุณมีทักษะที่ชอบทำตามคำสั่งผู้อื่น คุณอาจจะพอใจกับงานประเภทที่ต้องถูกสั่งให้ทำ เช่น อาชีพเลขานุการ งานทางธุรการต่าง ๆ แต่บุคลิกของคุณกล้าแสดงออก ชอบโต้เถียงผู้อื่น คุณอาจเหมาะกับอาชีพประเภททนาย หรือนายหน้าก็ได้        เห็นหรือไม่ว่า การค้นหาทักษะในตัวเองจะเป็นประโยชน์อย่างใหญ่หลวงต่อการหางานที่ถูกใจคุณถ้าเห็นด้วยเรามาเริ่มต้นกันเลยดีไหม? เพราะฉะนั้นตัวอย่างของทักษะ เช่น การตัดสินใจในตนเอง ความจริงใจต่อกัน การเป็นผู้นำ การสื่อสารเขียนหรือพูด ฯลฯ
        ขั้นที่ 2 : สำรวจจุดเด่นของตนเอง        จุดเด่นของคุณก็มีผลกับการหางานมากพอ ๆ กับทักษะจุดเด่น เป็นลักษณะทางบุคลิกภาพที่ทุกคนมี งานทุกชนิดต้องการคนที่มีบุคลิกบางอย่างที่เด่นเป็นเฉพาะ เช่น ถ้าคุณจะไปทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์ คุณควรมีบุคลิกที่เข้ากับคนง่าย รู้จักจัดการเกี่ยวกับคนหรือถ้าจะไปทำงานเป็นพนักงานบัญชี คุณควรมีบุคลิกที่ละเอียดรอบคอบ เป็นต้น จุดเด่นที่พูดนี้ไม่ได้หมายความว่า คุณจะต้องมีแต่ลักษณะนั้นเท่านั้น เพียงแต่คุณมีลักษณะบางประการ ที่เด่นเหนือลักษณะอื่นอยู่บ้างเท่านั้น เพื่อจะให้มองภาพจุดเด่นที่ชัดขึ้น จึงขอยกตัวอย่างจุดเด่นเพิ่มเติมอีก เช่น สนใจใฝ่รู้ทางวิชาการ ปรับตัวง่าย ตื่นตัวอยู่เสมอ ดึงดูดความสนใจ ระมัดระวัง ความรับผิดชอบสูง มองการณ์ไกล เป็นการเป็นงาน ละเอียดรอบคอบ สง่าผ่าเผย ฯลฯ เป็นต้น
        ขั้นที่ 3 : สำรวจความสัมฤทธิ์ผลทั่วไป        ในขั้นนี้เป็นช่วงสำคัญช่วงหนึ่งของการรู้จักตนเอง ขอให้คุณนึกย้อนไปถึงเหตุการณ์ที่มีความหมายสำหรับคุณในอดีตซึ่งอาจจัดว่า เป็นความสำเร็จอย่างหนึ่งของชีวิต พยายามนึกให้ได้ว่าในชีวิตคุณมีความสำเร็จอะไรบ้างอย่าตอบว่าไม่มีเลย เพราะไม่จริง ในแต่ละวันที่เรามีชีวิตอยู่นั้น เราจะต้องมีความสำเร็จเล็ก ๆ น้อย ๆ เกิดขึ้นอยู่เสมอ ๆ อาจเป็นความรู้สึกประทับใจเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่อาจจะไม่มีความหมายสำหรับผู้อื่น แต่มีความหมายสำหรับตัวเรา เช่น ทำการฝีมือได้รางวัลชมเชยหรือต่อรูยาก ๆ ได้สำเร็จก็ได้ ความสำเร็จในอดีตนี้ช่วยในการวางแผนอย่างมีประสิทธิภาพได้ในอนาคต
        ขั้นที่ 4 : สำรวจความชอบ/ไม่ชอบ        ในขั้นนี้เป็นของการลองกลับไปคิดใหม่อีกครั้ง ถึงเหตุการณ์สมัยที่ผ่านมา ไม่ว่าจะตอนขณะอยู่โรงเรียน หรือมหาวิทยาลัย เป็นต้น ฯลฯ มีอะไรที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานั้นที่ทำให้คุณไม่ชอบใจบ้าง? และขอให้จำลักษณะบุคลิกของบุคคลที่คุณไม่ชอบใจนี้ไว้ด้วย คุณจะได้รู้ว่าบุคคลประเภทใดที่คุณอยู่ด้วยแล้วจะไม่มีความสุข
        ขั้นที่ 5 : สำรวจขีดจำกัด        ไม่มีมนุษย์คนไหนที่สมบูรณ์ดีพร้อม คุณก็เช่นเดียวกัน เราทุกคนยังเป็นมนุษย์ที่ย่อมมีข้อบกพร่องการรู้จักตัวเองของคุณ ไม่ควรจะหมายความถึงการรู้จักแต่ส่วนดีของตัวคุณเท่านั้น คุณยังต้องรู้จักจุดอ่อน หรือขีดจำกัดของตัวคุณอีกด้วย จึงจะนับว่าเป็นการรู้จักตนเองอย่างแท้จริงจุดอ่อนที่จะเป็นอุปสรรคขัดขวางและทำให้คุณไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร พยายามนึกทบทวนดูให้ดีและอย่าปิดบังตัวเอง คุณจะต้องพยายามทำความรู้จักกับกับทุกส่วนของบุคลิกคุณอย่างแท้จริง ตัวอย่างเช่น คุณอาจเป็นคนมีความคิดอ่านดีในสมัยอยู่โรงเรียนมัธยม แต่คุณมักจะไม่กล้าใคร่แสดงตัวหรือแสดงความคิดให้ปรากฏ ทำให้ผู้อื่นรับหน้าที่นี้แทนคุณไป และความคิดเขาก็ไม่ได้ดีไปกว่าความคิดของคุณเลยถ้าเป็นเช่นนี้ แสดงว่าจุดอ่อนของคุณอยู่ที่การขาดความกล้า หรือไม่มีลักษณะเป็นผู้นำ เป็นต้น เมื่อสำรวจเสร็จก็ขอให้จดจำขีดจำกัดของตัวคุณไว้ เพื่อประกอบการพิจารณาเลือกสมัครงานในตำแหน่งนั้น ๆ ต่อไป
        ขั้นที่ 6 : สำรวจค่านิยม        ค่านิยมคืออะไร และมีความสำคัญกับการหางานทำของเราอย่างไร? คุณอาจจะยังไม่ค่อยเข้าใจถึงความสำคัญของค่านิยมให้คุณลองนึกตัวอย่างง่าย ๆ ว่า ถ้าเผอิญคุณเป็นชาวพุทธ แต่เผอิญได้ได้ทำงานในโรงฆ่าสัตว์ และคุณจะต้องลงมือเป็นผู้ลงมือฆ่าสัตว์เหล่านั้น คุณคิดว่า คุณจะทำงานหน้าที่นั้นด้วยความสบายใจหรือไม่และจะทำไปได้นานสักแค่ไหน? แน่นอนคุณคงทำไปด้วยความไม่สบายใจ และถ้าต้องทำต่อไป คุณก็คงจะอยู่ในงานนั้นได้ไม่นาน นั่นก็เพราะค่านิยมที่ตัวคุณยึดถือไปขัดกับค่านิยมงานที่คุณทำ        ดังนั้นค่านิยม จึงหมายถึง สิ่งที่เรายึดถือว่า ดีงาม สมควรปฏิบัติ เช่น ค่านิยมเรื่องความซื่อสัตย์ ความมั่นคง ความปลอดภัย และความเสียสละ เป็นต้น
        ขั้นที่ 7 : สำรวจความสัมพันธ์ที่มีต่อบุคคลอื่น        สิ่งหนึ่งที่คุณต้องเข้าใจคือ        คุณจะต้องอยู่กับคนไปตลอดชีวิต การเข้าใจความสัมพันธ์ที่มีต่อกันจึงเป็นสิ่งจำเป็นในการอยู่ร่วมกัน และทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ        ความสัมพันธ์ที่ต้องมีกับบุคคลอื่น ๆ จะต่างกันในงานแต่ละชนิดมีงานบางประเภทที่ต้องทำงานร่วมกับผู้อื่นตลอดเวลา และบางประเภทก็แทบจะไม่ต้องยุ่งเกี่ยวกับผู้อื่นเลย        ถ้าคุณสำรวจความสัมพันธ์แล้วพบว่า คุณชอบการสร้างสรรค์ พึงพอใจในการได้อยู่ในกลุ่มคน ก็แสดงว่าคุณคงจะมีความสุข ถ้าคุณได้งาน ที่เปิดโอกาสให้มีการสร้างสรรค์ และอยู่กับผู้อื่น แต่ถ้าคุณชอบอยู่ของคุณตามลำพังไม่ต้องการยุ่งกับผู้อื่นมากนัก ก็ไม่ควรไปสมัครงานที่ต้องการมนุษย์สัมพันธ์มาก ๆ อาจเลี่ยงไปทำงานประเภทที่เกี่ยวข้องกับตัวเลข หรือวัตถุแทน เป็นต้น        บุคลิกภาพของคุณและของงานแต่ละชนิดจะต้องถูกนำมาพิจารณาประกอบกันและหาตัวร่วมที่เหมาะสม เพราะคุณจะไม่มีความสุขเลย ถ้าคุณทำงานที่มีลักษณะไม่ตรงกับบุคลิกภาพของคุณ
        ขั้นที่ 8 : สำรวจสิ่งแวดล้อมในการทำงาน        คุณเชื่อหรือไม่ว่า สิ่งแวดล้อมในการทำงาน หรือบรรยากาศการทำงานมีผลอย่างยิ่งต่อสภาพจิตใจของคน?         ลองนึกง่าย ๆ ถ้าตัวคุณไปนั่งทำงานในห้องแคบ ๆ ไม่เจอผู้คนเลยทั้งวัน คุณจะทนทำไปได้สักกี่วัน?        การทำงานนั้น มิใช่เป็นเพียงกระบวนการ ที่สักแต่จะให้ได้งานเท่านั้น แต่สิ่งแวดล้อมที่ประกอบการทำงานนั้นเป็นของสำคัญไม่น้อยไปกว่าตัวงานเลย        ซึ่งมิได้หมายความว่าให้คุณเลือกทำงานแต่ในห้องแอร์ปูพรมจรดฝา แต่สิ่งที่กำลังอยากให้คุณพิจารณาคือ ความสามารถอย่างที่คุณมี จุดเด่น ทักษะ ความต้องการและค่านิยมของคุณนั้นควรจะเหมาะกับงานชนิดไหนและอยู่กับสิ่งแวดล้อมคร่าว ๆ อย่างไร แต่คุณจะต้องมีความยืดหยุ่น พอที่จะปรับความต้องการของคุณให้เข้ากับสิ่งที่คุณได้ตามสมควร
        ขั้นที่ 9 : ความต้องการเกี่ยวกับเงินเดือน        คุณคงจะต้องพิจารณาคร่าว ๆ ถึงความต้องการว่าคุณมีความต้องการอย่างไรในเรื่องนี้ การเรียกร้องเงินเดือนเท่าใดนั้น คุณควรจะต้องไปทำการค้นคว้าว่าโดยทั่ว ๆ ไป บุคคลที่จบระดับการศึกษาเดียวกันกับคุณ หรือผู้ที่ทางบริษัทรับเข้ามาในตำแหน่งที่คล้ายกับคุณสมัครนั้น ได้รับเงินเดือนประมาณเท่าใด        ส่วนใหญ่ ถ้าเป็นงานราชการเงินเดือนที่คุณได้จะเป็นไปตามวุฒิที่ทางการกำหนดไม่มีการต่อรองแต่ถ้าเป็นบริษัทเอกชนหรือรัฐวิสาหกิจอาจมีอัตราการจ่ายเงินเดือนที่ต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับขนาด ความมั่นคงและระบบการบริหารของบริษัท เช่น ถ้าเป็นบริษัทเล็ก ๆ ทำกันเองภายในครอบครัวก็อาจตั้งเงินเดือนให้คุณเองตามใจปรารถนาของเขาแต่บริษัทส่วนใหญ่ มักถือเอาตามวุฒิการศึกษาเป็นเกณฑ์ ในการจ่ายเงินเดือน        ในกรณีที่คุณไม่มีการศึกษาสูงนัก แต่มีประสบการณ์ทำงานมากก็อาจได้รับการพิจารณาเข้าทำงาน และได้เงินเดือนสูงพอ ๆ หรืออาจจะดีกว่าผู้ที่จบการศึกษาสูงกว่าคุณ แต่ขาดประสบการณ์เท่าคุณก็ได้        ดังนั้นถ้าคุณเคยมีประสบการณ์ในการทำงานที่คล้ายคลึงกับที่เขาต้องการ ย่อมจะมีภาษีกว่าผู้ที่จบใหม่ ๆ ที่รับเข้ามาก็ต้องมาเสียเวลาและค่าใช้จ่ายฝึกใหม่ นอกจากนี้ถ้าคุณมีประสบการณ์ทำงาน คุณมักจะต่อรองเรื่องเงินเดือนกับผู้จ้างได้มากกว่าผู้ขาดประสบการณ์        อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าคุณจะมีหรือไม่มีประสบการณ์ ความต้องการของคุณก็ยังเป็นตัวกำหนดการหางานและเงินเดือนที่คุณประสงค์อยู่นั่นเอง
 
  2. รู้เขา
                ควรจะต้องรู้ในสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ คือ
                2.1 ตัวบริษัท                        -ดำเนินธุรกิจอะไร เช่นอุตสาหกรรม,บริการ,ค้าขาย ฯลฯ                        -ผลผลิตของบริษัท เขาผลิตอะไร เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องนุ่งห่ม อาหาร ฯลฯ                        -ที่ตั้งของบริษัท กรณีอยู่ไกลมีรถบริการหรือไม่ มีบ้านเช่าใกล้ ๆ หรือไม่ ค่าเช่าแพงหรือไม่ ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้สามารถหาดูได้จาก แผ่นพับ ใบปลิว รายงายประจำปี ฯลฯ                2.2 ตำแหน่งงาน                        เพื่อให้ผู้สมัครได้สำรวจตนเองว่ามีคุณสมบัติเบื้องต้นตรงความต้องการหรือไม่ ถ้าตรงแสดงว่าคุณผ่านการคัดเลือกแล้วเปลาะหนึ่งโดยควรทราบข้อมูลเกี่ยวกับตำแหน่งงาน คือ                         -หน้าที่เหล่านั้นต้องปฏิบัติอย่างไร ต้องใช้ความสามารถด้านไหน เช่น ต้องการพนักงานขาย ควรมีความคล่องตัว กิริยามารยาทเรียบร้อย รู้ใจผู้ติดต่อ                        -ตำแหน่งที่ต้องทำเกี่ยวข้องกับตำแหน่งใดบ้าง                2.3 ค่าตอบแทน ซึ่งประกอบด้วย                        -เงินเดือนหรือค่าจ้าง                        -สวัสดิการต่าง ๆ                         หมายเหตุ อัตราเงินเดือน                        -ปวช. 4,700 บาท/เดือน                        -ปวท. 5,180 บาท/เดือน                        -ปวส. 5,740 บาท/เดือน                        -ปริญญาตรี 6,360 บาท/เดือน
        บุคคลที่นายจ้างต้องการ

        1. มีคุณวุฒิตรงกับนายจ้างต้องการ
        2. มีบุคลิกภาพที่ดี
        3. ทำงานเข้ากับคนได้
        4. ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีความรอบคอบ คิดเป็นระบบ กระตือรือร้น
        5. มีความพร้อมในการปฏิบัติงานทุกด้านเสมอ
        6. มีวัฒนธรรมที่ดี มีความซื่อสัตย์ มีวินัยต่อหน้าที่การงาน
        7. มีความเอื้ออาธรให้กับเพื่อนร่วมงาน
        8. จะต้องเป็นนักคิด นักวางแผน นักปฏิบัติงานที่ดี
        9. มีความตรงต่อเวลา
        10. มีความรู้ทันโลก
        11. มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
        12. มีความอดทนต่องาน
        13. ความรู้ทางด้านภาษาต้องรู้หลาย ๆ ภาษายิ่งดี
        14. เป็นคนทันต่อเหตุการณ์
        15. เป็นคนทันคน มีไหวพริบ มีสติปัญญา
ข้อแนะนำก่อนเลือกสมัครงาน
        1. ต้องมีทิศทางในตัวเอง
        2. ต้องรู้จักตนเอง
        3. รู้แหล่งงาน ถ้าไม่โทรถามให้แน่ใจข้อมูลตำแหน่งที่ตนจะสมัคร
        4. เวลาไปสมัครให้ไปคนเดียว
        5. หลักฐาน ควรเตรียมไปให้ครบ โดยเฉพาะรูปถ่าย ให้ใช้รูปนักศึกษาจะดีกว่า
        6. การเขียนจดหมายสมัครงานควรระวัง การเขียนหน้าซองถึง บก. ในซองถึงผู้อำนวยการอีกแห่ง
        7. ในเรื่องเงินเดือนควรรู้เกณฑ์มาตรฐานคร่าว ๆ ไว้ก่อน ถ้าไม่รู้จริง ๆ เขียนไว้เป็นช่วง ๆ เป็นการประมาณ เช่น 7,000-10,000 บาท (นี่เป็นอัตราทั่วไปสำหรับบัณฑิตปริญญาตรี) หรือถ้าเราเองก็ยังไม่แน่ใจก็เขียนไปว่า "ตามแต่ตกลงกัน" (NEGOTIABLE)
        8. ประวัติ เขียนโดยย่อ ๆ และเขียนทุก ๆ ช่องที่กำหนด
        9. คุณวุฒิการศึกษา เริ่มจากวุฒิสูงสุดก่อน แล้วค่อย ๆ ไล่ย้อยลงไปจนสิ้นสุดที่ระดับมัธยมศึกษา เพื่อความสะดวก ควรเอาเดือน ปี ขึ้นก่อนแล้วค่อยตามด้วยวุฒิและสถาบัน
        10. ประสบการณ์ในการทำงาน ควรใส่มากโดยเฉพาะที่ตรงกับตำแหน่งที่เราสมัคร
        11. ประสบการณ์ในงานกิจกรรม ระหว่างศึกษาให้ใส่ให้ครบทุกกิจกรรมที่มีส่วนร่วม
        12. สถานที่ติดต่อกลับ ควรชัดแจ้งและถ้าช่วงปิดเทอมควรให้ที่อยู่ต่างจังหวัดด้วย หากมีโทรศัพท์ให้ใส่ด้วย ควรแจ้งผู้รับโทรศัพท์ที่บ้านให้สั่งฝากข้อความ โดยจำชื่อบริษัทให้ชัดเจน
        13. สถานศึกษาควรใส่ บางครั้งอาจสำเร็จการศึกษาตรงกับผู้สัมภาษณ์หรือผู้จัดการ
        14. ความรู้ความสามารถที่เด่นควรใส่ให้ครบ มีทักษะพิเศษอะไรใส่ลงไปเลยไม่ต้องถ่อมตัวโดเฉพาะที่เป็นจุดเสริมในตำแหน่งที่สมัคร เช่น พิมพ์ดีดได้ ใช้คอมพิวเตอร์เป็น ฯลฯ งานอดิเรกก็เช่นกัน เช่น ถ่ายภาพ วาดเขียน ฯลฯ ใส่ลงไปเถอะขอให้เป็นเรื่องจริงและฟังดูมีสาระหน่อยสิ่งเหล่านี้อาจทำให้คุณมีอไร ๆ น่าสนใจขึ้นกว่าคนอื่น ๆ
        15. บุคคลอ้างอิง ก่อนจะใส่ชื่อเขาควรบอกให้เจ้าตัวทราบก่อน
        16. บุคลิก กล้าพูด กล้าแสดงออก ไม่ตอบเอาใจนายจ้างรวมถึงการแต่งตัวดี บุคลิกดี สังคม ธุรกิจมักจะชื่นชมบุคคลที่มีความเก่งและกล้า
        17. รู้จักคนในบริษัท อย่าแสดงมารยาทรู้จักและวุ่นวายมาก
แหล่งข้อมูลการสมัครงาน
        1. ตามหนังสือพิมพ์รายวัน ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ หนังสือพิมพ์มักมีข่าวการเปิดรับสมัครงานที่ทุกคนให้ความสนใจ หนังสือพิมพ์บ้านเมือง วัฏจักร มติชน ไทยรัฐ BANKKOK POST (คอลัมน์ BANKKOK POST CLASSIFIED) THE NATION 
ฯลฯ
        2. ประกาศตำแหน่งงานว่างตามสถาบันการศึกษา ผู้สมัครงานควรตรวจดูประกาศรับสมัครงานตามสถาบันการศึกษาต่าง ๆ มหาวิทยาลัยเกือบทุกแห่งมีข้อมูลเกี่ยวกับการเปิดรับสมัครงานของหน่วยงานทั้งภาครัฐบาล รัฐวิสาหกิจ และเอกชน
        3. ญาติพี่น้องหรือบุคคลที่รู้จักมักคุ้นกัน ในสังคมไทย ญาติพี่น้องหรือบุคคลที่รู้จักมักคุ้นถือว่าเป็นแหล่งงานที่สำคัญ
        4. 
สำนักงานข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) กองการสอบ ชั้น 4 ถนนพิษณุโลก เป็นศูนย์รวมข่าวการสอบของหน่วยราชการและรัฐวิสาหกิจ
        5. 
กรมการจัดหางานโดยการติดต่อโดยตรงที่สำนักงานจัดหางาน กรมการจัดหางาน กรุงเทพมหานคร สำนักงานจัดหางานจังหวัดทุกจังหวัด สำนักจัดหางานกรุงเทพ ทั้ง 9 เขต
        6. อาจารย์ในมหาวิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัยท่าน ได้ทำการติดต่อธุรกิจเอกชนในฐานะเป็นนักวิจัยหรือที่ปรึกษาสถาบันอุดมศึกษาหลายแห่งได้เชิญบุคคลากรเอกชนมาเป็นอาจารย์พิเศษท่านเหล่านี้สามารถช่วยหางานได้
        7. ศิษย์เก่าจากสถาบันการศึกษา ได้ทำงานกระจัดกระจายอยู่ในภาครัฐบาลและภาคเอกชน โดยทั่วไปศิษย์เก่าซึ่งเป็นรุ่นพี่จะยินดีช่วยเหลือรุ่นน้องอยู่แล้ว
        8. สมุดโทรศัพท์ สมุดหน้าเหลือง (YELLOW PAGES) ผู้สมัครสามารถทราบได้จากสมุดหน้าเหลืองหลายด้าน เช่น ประเภทของธุรกิจแยกประเภทตามตัวอักษร บริษัทหรือธุรกิจใหญ่โต มักมีเนื้อที่โฆษณามาก มีหมายเลขหลายหมายเลข ระบุที่ตั้งบริษัทอีกด้วย ผู้สมัครงานอาจจะโทรศัพท์หาข่าวจาก
ผู้จัดการฝ่ายบุคคล หรือเขียนจดหมายสมัครงานส่งไปที่บริษัทได้
        9. สมาคมที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล เช่น สมาคมการจัดงานบุคคลแห่งประเทศไทย มีนโยบายช่วยเหลือผู้จบการศึกษาทุกระดับอยู่แล้ว โทรศัพท์ติดต่อ ถามข้อมูล ตำแหน่งงานว่างหรือขอให้ลงโฆษณาคุณสมบัติของผู้สมัครงานในวารสารของสมาคมในคอลัมน์บุคคลที่น่าสนใจก็ได้
        10. 
งานวันนัดพบแรงงาน ซึ่งนายจ้างกับลูกจ้างได้มีโอกาสพบกันและจ้างงานกันโดยตรง
        11. การสมัครงานกับสำนักงานจัดหางานเอกชนควรตรวจสอบก่อนว่า สำนักงานจัดหางานนั้นได้จดทะเบียนกับการจัดหางาน กระทรวงแรงงานแล้วหรือไม่ เพื่อป้องกันปัญหาการหลอกลวง และการเรียกเก็บเงินค่าบริการเกินกำหนด
        12. สำหรับการติดต่อสมัครงานกับนายจ้างโดยตรง ผู้สมัครงานจะต้องใช้เวลาและใช้เงินในการหางานทำ เพราะต้องออกไปหางานด้วยตนเองตามแหล่งต่าง ๆ
http://119.63.84.110/
ที่มา