วันพุธที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2556

เทคโนโลยีสะอาด

เทคโนโลยีสะอาด (Clean Technology)
CT คืออะไร
             การจัดการสิ่งแวดล้อมในอดีตที่ผ่านมา มุ่งเน้นการบำบัดมลพิษที่ปลายทางหรือปลายท่อ (End of pipe) เป็นส่วนใหญ่ เช่น การบำบัดน้ำเสีย มลพิษทางอากาศและกากของเสียต่างๆเป็นต้น ด้วยหวังว่าการกำจัดและควบคุมปริมาณมลพิษที่ปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อมนั้น จะสามารถยับยั้งหรือชะลอกการเสื่อมถอยของสภาพแวดล้อมจากมลพิษที่ปล่อยออกได้ อย่างไรก็ดี เป็นที่ทราบทั่วไปว่าสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันกำลังเสื่อมโทรมลงทุกขณะซึ่งยืนยันถึงความไม่เพียงพอและด้อยประสิทธิภาพของการจัดการมลพิษด้วยการบำบัด นอกจากนี้การบำบัดมลพิษส่วนใหญ่มีค่าใช้จ่ายสูงและเป็นภาระของผู้ประกอบการโรงงานอยู่ตลอดเวลา และในมุมมองของผู้ประกอบการเองถือว่าเป็นการลงทุนที่ไม่ก่อให้เกิดผลกำไร ยิ่งไปกว่านั้นของเสียหรือมลพิษที่บำบัดแล้วส่วนใหญ่เป็นเพียงการเปลี่ยนของเสียหนึ่งเป็นอีกสถานะหนึ่งเท่านั้น จึงจัดได้ว่าเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ซึ่งยังไม่ใช่วิธีการจัดการสิ่งแวดล้อมที่มีประสิทธิภาพและคุ้มค่าการลงทุน
  ดังนั้น การจัดการสิ่งแวดล้อมที่จะมีประสิทธิภาพและสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ ต้องมีแนวคิดที่เปลี่ยนไปจากเดิม โดยมุ่งเน้นที่เป็นการจัดการที่สามารถก่อให้เกิดประโยชน์ทั้ง 2 ด้านไปพร้อมๆกัน กล่าวคือก่อให้เกิดผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจควบคู่ไปกับการรักษาสิ่งแวดล้อม     
waste manage การจัดลำดับการจัดการของเสีย เทคโนโลยีสะอาด (Clean Technology / CT) เป็นแนวทางหนึ่งของการจัดการในลักษณะของการป้องกันมลพิษ (Pollution prevention) ที่มีการประยุกต์และผสมผสานกลยุทธ์ต่างๆ เพื่อให้การดำเนินกิจกรรมของภาคการผลิตให้มีการป้องกันหรือลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปกับการพัฒนาศักยภาพในการผลิตของภาคอุตสาหกรรมโดยใช้หลักการ ลดของเสียให้เหลือน้อยที่สุด (Waste Minimization) ซึ่งประกอบด้วยการเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิตหรือการเปลี่ยนวัตถุดิบที่ทำให้เกิดผลพลอยได้ที่ไม่เป็นอันตราย รวมทั้งการลดปริมาณและ ความเข้มข้นขององค์ประกอบในของเสียด้วยการนำไปใช้ซ้ำ (Reuse) หรือการนำกลับไปใช้ใหม่ (Recycle) จนไม่สามารถนำของเสียไปใช้ประโยชน์ได้แล้ว ก็จะนำไปบำบัดให้ถูกต้องตาม หลักวิชาการต่อไป โดยมีการดำเนินการอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง ดังนั้นเทคโนโลยีสะอาดจึงได้รับการยอมรับว่าเป็นเครื่องมือการจัดการในเชิงรุกที่มีประสิทธิภาพในการจัดการสิ่งแวดล้อมในยุคปัจจุบัน
 หลักการเทคโนโลยีสะอาด
       1. วิธีการลดมลพิษที่แหล่งกำเนิด     
1.1       การเปลี่ยนแปลงผลิตภัณฑ์(Product Reformulation)                                                                                                                         
        1.2  การเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิต(Process Change)
         –     การเปลี่ยนแปลงวัตถุดิบ (Input Material Change)    
               การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี(Technology Improvement
             การปรับปรุงกระบวนการดำเนินงาน(Operational Improvement)  
              2. การใช้ซ้ำหรือการนำกลับมาใช้ใหม่
              2.1  การใช้ซ้ำ (Reuse)
              2.2  การนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle)
                 CT GL1           
การใช้เทคโนโลยีสะอาด
            1. การจัดซื้อผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
                        กรมควบคุมมลพิษได้ศึกษาคัดเลือก และจัดทำเกณฑ์ข้อกำหนดสำหรับสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทั้งหมด 17 ประเภท ได้แก่ สินค้า14 ประเภท และบริการ 3 ประเภทดังต่อไปนี้
                        1.1 กระดาษคอมพิวเตอร์ กระดาษสีทำปก              1.10 ปากกา
                                  ไบอร์ด                                                                                                                                                                                        1.2 กระดาษชำระ                                                   1.11 ผลิตภัณฑ์ลบคำผิด
                        1.3 กล่องใส่เอกสาร                                               1.12 แฟ้มเอกสาร
                        1.4 เครื่องถ่ายเอกสาร                                             1.13 สีทาอาคาร
                        1.5 เครื่องพิมพ์                                                      1.14 หลอดฟลูออเรสเซนต์
                        1.6 เครื่องเรือนเหล็ก                                               1.15 บริการทำความสะอาด
                        1.7 ซองบรรจุภัณฑ์                                                1.16 บริการโรงแรม
                        1.8 ตลับหมึก                                                        1.17 บริการเช่าเครื่องถ่ายเอกสาร
                        1.9 แบตเตอรี่ปฐมภูมิ
               2. น้ำและการจัดการน้ำเสีย
            2.1 การลดปริมาณการใช้น้ำ
            2.2 การปรับปรุงระบบบำบัดน้ำเสีย
            2.3 เปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีการบำบัดน้ำเสีย
            2.4 ปรับปรุงกระบวนการดำเนินการ
เอกสารเพิ่มเติม : - น้ำและการจัดการน้ำเสีย
            3. การจัดการขยะ
                        การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า ก่อให้เกิดปริมาณขยะให้น้อยลง จึงมีการนำแนวทางการลด คัดแยก และนำขยะมูลฝอยกลับมาใช้ใหม่ (Reduce Reuse and Recycle: 3Rs) มาประยุกต์ใช้ โดยใช้วิธีการลดการใช้วัสดุ/ผลิตภัณฑ์เพื่อลดปริมาณขยะที่เกิดขึ้น (Reduce) มีการนำวัสดุ/ผลิตภัณฑ์ที่ยังสามารถใช้งานได้กลับมาใช้ซ้ำ (Reuse) และนำเศษวัสดุ/ผลิตภัณฑ์ที่ใช้งานแล้วมาแปรรูปเพื่อนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ (Recycle) โดยมีตัวอย่างและวิธีง่ายๆ ดังนี้
                     3.1  ลดการใช้ (Reduce)
                                     3.1.1 ปฏิเสธหรือหลีกเลี่ยงสิ่งของหรือบรรจุภัณฑ์ที่จะสร้างปัญหา   (Refuse)                     
                                - ปฏิเสธการใช้บรรจุภัณฑ์ฟุ่มเฟือย รวมทั้งขยะที่เป็นมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม อาทิเช่น กล่องโฟม ถุงพลาสติก หรือขยะมีพิษอื่น ๆ
                              หลีกเลี่ยงการเลือกซื้อสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่ใช้บรรจุภัณฑ์ห่อหุ้มหลายชั้น
                                                            -หลีกเลี่ยงการเลือกซื้อสินค้าชนิดใช้ครั้งเดียว หรือผลิตภัณฑ์ที่มีอายุการใช้งานต่ำ
                                                             - ไม่สนับสนุนร้านค้าที่กักเก็บและจำหน่วยสินค้าที่ใช้บรรจุภัณฑ์ฟุ่มเฟือยและไม่มีระบบเรียกคืนบรรจุภัณฑ์ใช้แล้ว
                                                    - กรณีการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ประจำบ้านที่ใช้เป็นประจำ เช่น สบู่ ผงซักฟอก น้ำยาล้างจาน ให้เลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีขนาดบรรจุใหญ่กว่า
                                                      เนื่องจากใช้บรรจุภัณฑ์น้อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับหน่วยน้ำหนักของผลิตภัณฑ์
                                                    - ลดหรืองดการบริโภคที่ฟุ่มเฟือย โดยเลือกใช้สินค้าหรือผลิตภัณฑ์ให้เหมาะสมกับความต้องการ
                                     3.1.2 เลือกใช้สินค้าที่สามารถส่งคืนบรรจุภัณฑ์สู่ผู้ผลิตได้ (Return)
                                                    - เลือกซื้อสินค้าหรือใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีระบบมัดจำ - คืนเงิน เช่น ขวดเครื่องดื่มประเภทต่าง ๆ
                                                    - เลือกซื้อสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่สามารถนำกลับไปรีไซเคิลได้ หรือมีส่วนประกอบของวัสดุรีไซเคิล เช่น ถุงช๊อปปิ้ง โปสการ์ด ฯลฯ
                                                    - เลือกซื้อสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่ผู้ผลิตเรียกคืนซากบรรจุภัณฑ์ หลังจากการบริโภคของประชาชน
                         3.2 ใช้ซ้ำ (Reuse)
                                    ใช้ซ้ำ เป็นหนึ่งในแนวทางการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีอยู่อย่างรู้คุณค่า การใช้ซ้ำเป็นการที่เรานำสิ่งต่างๆ ที่ใช้งานไปแล้ว และยังสามารถใช้งานได้ กลับมาใช้อีก เป็นการลดการใช้ทรัพยากรใหม่ รวมทั้งเป็นการลดปริมาณขยะที่จะเกิดขึ้นอีกด้วย ตัวอย่างของการใช้ซ้ำ เช่น
                                                   - เลือกซื้อหรือใช้ผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบมาให้ใช้ได้มากกว่า 1 ครั้ง เช่น แบตเตอรี่ประจุไฟฟ้าใหม่ได้
                                                   - ซ่อมแซมเครื่องใช้ และอุปกรณ์ต่างๆ (Repair) ให้สามารถใช้ประโยชน์ต่อไปได้อีก
                                                   - บำรุงรักษาเครื่องใช้ อุปกรณ์ต่างๆ ให้สามารถใช้งานได้คงทนและยาวนานขึ้น
                                                   - นำบรรจุภัณฑ์และวัสดุเหลือใช้อื่นๆ กลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ เช่น การใช้ซ้ำถุงพลาสติก ถุงผ้า ถุงกระดาษ และกล่องกระดาษ การใช้ซ้ำ
                                                     ขวดน้ำดื่ม เหยือกนม และกล่องใส่ขนม
                                                   - ยืม เช่า หรือใช้สิ่งของหรือผลิตภัณฑ์ที่ใช้บ่อยครั้งร่วมกัน เช่น หนังสือพิมพ์ วารสาร
                                                   - บริจาคหรือขายสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ เช่น หนังสือ เสื้อผ้า เฟอร์นิเจอร์ และเครื่องมือใช้สอยอื่นๆ
                                                   - นำสิ่งของมาดัดแปลงให้ใช้ประโยชน์ได้อีก เช่น การนำยางรถยนต์มาทำเก้าอี้ การนำขวดพลาสติกมาดัดแปลงเป็นที่ใส่ของ แจกัน การนำ
                                                     เศษผ้ามาทำเปลนอน เป็นต้น
                                                   - ใช้ซ้ำวัสดุสำนักงาน เช่น การใช้กระดาษทั้งสองหน้า เป็นต้น
                         3.3 รีไซเคิล (Recycle)
                                      รีไซเคิล เป็นการนำวัสดุต่างๆ อย่างเช่น กระดาษ แก้ว พลาสติก เหล็ก อะลูมิเนียม ฯลฯ มาแปรรูปโดยกรรมวิธีต่างๆ เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งนอกจากจะเป็นการลดปริมาณขยะมูลฝอยแล้ว ยังเป็นการลดการใช้พลังงานและลดมลพิษที่เกิดกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งเราสามารถทำได้โดย
                                                   - คัดแยกขยะรีไซเคิลแต่ละประเภท ได้แก่ แก้ว กระดาษ พลาสติก โลหะ/อโลหะ เพื่อให้ง่ายต่อการนำไปรีไซเคิล
                                       - นำไปขาย/บริจาค/นำเข้าธนาคารขยะ/กิจกรรมขยะแลกไข่ เพื่อเข้าสู่วงจรของการนำกลับไปรีไซเคิล
ตัวอย่างแนวทางการใช้เทคโนโลยีสะอาดในอาคารประเภทต่างๆ
ที่ที่มาhttp://ptech.pcd.go.th

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น