วันอังคารที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2556

ทักษะการแสวงหาความรุ่


ความหมายของการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
        การแสวงหาความรู้  คือ ทักษะที่จะต้องอาศัยการเรียนรู้และวิธีการฝึกฝนจนเกิดความชำนาญ ช่วยทำให้เกิดแนวความคิดความเข้าใจที่ถูกต้องและกว้างขวางยิ่งขึ้น เพราะผู้เรียนจะเกิดทักษะในการค้นคว้า สิ่งที่ต้องการและสนใจใคร่รู้จากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ   จะทำให้ทราบข้อเท็จจริง   และสามารถเปรียบเทียบข้อเท็จจริงที่ได้มาว่าควรเชื่อถือหรือไม่ 

ทักษะการสร้างปัญญา
        ทักษะการสร้างปัญญาให้กับผู้เรียน เพื่อนำไปสู่การแสวงหาความรู้ด้วยตนเองมี  10  ขั้นตอน  ดังนี้
        ขั้นตอนที่  1 ทักษะการสังเกต  คือ การสังเกตสิ่งที่เราเห็น สิ่งแวดล้อม  หรือสิ่งที่เราจะศึกษา  โดยสังเกตเกี่ยวกับแหล่งที่มา ความเหมือน  ความแตกต่าง  สาเหตุของความแตกต่าง ประโยชน์ และผลกระทบ  วิธีฝึกการสังเกต  คือ   การฝึกสมาธิ  เพื่อให้มีสติ และทำให้เกิดปัญญา  มีโลกทรรศน์  มีวิธีคิด 
        ขั้นตอนที่  2  ทักษะการบันทึก  คือ   การบันทึกสิ่งที่ต้องจำหรือต้องศึกษา  มีหลายวิธี  ได้แก่  การทำสรุปย่อ การเขียนเค้าโครงเรื่อง  การขีดเส้นใต้   การเขียนแผนภูมิ  การทำเป็นแผนภาพ  หรือ ทำเป็นตาราง เป็นต้น วิธีฝึกการบันทึก  คือ  การบันทึกทุกครั้งที่มีการสังเกต  มีการฟัง หรือมีการอ่าน  เป็นการพัฒนาปัญญา
        ขั้นตอนที่  3  ทักษะการนำเสนอ  คือ   การทำความเข้าใจในเรื่องที่จะนำเสนอให้ผู้อื่นรับรู้ได้ โดยจดจำในสิ่งที่จะนำเสนอออกมาอย่างเป็นระบบ  ซึ่งสามารถทำได้หลายรูปแบบ เช่น การทำรายงานเป็นรูปเล่ม การรายงานปากเปล่า การรายงานด้วยเทคโนโลยี  เป็นต้น   วิธีฝึกการนำเสนอ คือ  การฝึกตามหลักการของการนำเสนอในรูปแบบต่าง ๆ ดังกล่าวอย่างสม่ำเสมอ จนสามารถนำเสนอ ได้ดีซึ่งเป็นการพัฒนาปัญญา
        ขั้นตอนที่  4  ทักษะการฟัง คือ การจับประเด็นสำคัญของผู้พูด สามารถตั้งคำถามเรื่องที่ฟังได้  รู้จุดประสงค์ในการฟัง  ผู้เรียนจะต้องค้นหาเรื่องสำคัญในการฟังให้ได้  วิธีฝึกการฟัง คือ  การทำเค้าโครงเรื่องที่ฟัง จดบันทึกความคิดหลัก  หรือถ้อยคำสำคัญลงในกระดาษบันทึกที่เตรียมไว้ อาจตั้งคำถามในใจ  เช่น  ใคร  อะไร  ที่ไหน  เมื่อไร  เพราะเหตุใด  อย่างไร  เพราะจะทำให้การฟัง มีความหมายและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
        ขั้นตอนที่  5  ทักษะการถาม  คือ  การถามเรื่องสำคัญ ๆ  การตั้งคำถามสั้น ๆ เพื่อนำคำตอบมา เชื่อมต่อให้สัมพันธ์กับสิ่งที่เรารู้แล้วมาเป็นหลักฐานสำหรับประเด็นที่กล่าวถึง สิ่งที่ทำให้เราฟัง ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  คือ  การถามเกี่ยวกับตัวเราเอง  การฝึกถาม-ตอบ เป็นการฝึกการใช้เหตุผลวิเคราะห์ สังเคราะห์  ทำให้เข้าใจในเรื่องนั้น ๆ อย่างชัดเจน ถ้าเราฟังโดยไม่ถาม-ตอบ  ก็จะเข้าใจ ในเรื่องนั้น ๆ ไม่ชัดเจน
        ขั้นตอนที่  6  ทักษะการตั้งสมมติฐานและตั้งคำถาม   คือ  การตั้งสมมติฐาน  และตั้งคำถาม สิ่งที่เรียนรู้ไปแล้วได้ว่า   คืออะไร  มีประโยชน์อย่างไร  ทำอย่างไรจึงจะสำเร็จได้   การฝึกตั้งคำถาม ที่มีคุณค่าและมีความสำคัญ ทำให้อยากได้คำตอบ
        ขั้นตอนที่  7  ทักษะการค้นหาคำตอบจากแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ  เช่น  จากหนังสือ   อินเทอร์เน็ต  คุยกับคนแก่ แล้วแต่ธรรมชาติของคำถาม  การค้นหาคำตอบต่อคำถามที่สำคัญจะสนุก และทำให้ได้ความรู้มาก บางคำถามหาคำตอบทุกวิถีทางแล้วไม่พบ ต้องหาคำตอบต่อไปด้วยการวิจัย
        ขั้นตอนที่   8  ทักษะการทำวิจัยสร้างความรู้  การวิจัยเพื่อหาคำตอบเป็นส่วนหนึ่งของ กระบวนการเรียนรู้ทุกระดับ การวิจัยจะทำให้ค้นพบความรู้ใหม่  ทำให้เกิดความภูมิใจ  สนุก และมีประโยชน์มาก
        ขั้นตอนที่   9  ทักษะการเชื่อมโยงบูรณาการ คือ  การเชื่อมโยงเรื่องที่เรียนรู้มา ให้เห็นภาพรวมทั้งหมด  มองเห็นความงดงาม  มองให้เห็นตัวเอง  ไม่ควรให้ความรู้นั้นแยกออกเป็นส่วน ๆ
        ขั้นตอนที่  10  ทักษะการเขียนเรียบเรียง คือ  การเรียบเรียงความคิดให้ประณีตขึ้น  โดยการค้นคว้า หาหลักฐานอ้างอิงความรู้ให้ถี่ถ้วน แม่นยำขึ้นการเรียบเรียงทางวิชาการจึงเป็นการพัฒนาปัญญาอย่างสำคัญ  และเป็นประโยชน์ในการเรียนรู้ของผู้อื่นในวงกว้างออกไป

การพัฒนาทักษะการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง  (กรมสามัญศึกษา, 2545, หน้า  12-20)
        การศึกษาหาความรู้มีขั้นตอน  ดังนี้
        1.  การกำหนดประเด็นค้นคว้า  ประกอบด้วย
             1.1  การตั้งประเด็นค้นคว้า
             1.2  การกำหนดขอบเขตของประเด็นค้นคว้า
             1.3  การอธิบายประเด็นค้นคว้าซึ่งเป็นการนำเสนอรายละเอียดเกี่ยวกับประเด็นค้นคว้า
             1.4  การแสดงความคิดเห็นต่อประเด็นค้นคว้า
        2.  การคาดคะเน  ประกอบด้วย
             2.1  การตั้งประเด็นคาดคะเน
             2.2  การอธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับประเด็นคาดคะเนผล
             2.3  การแสดงความคิดเห็นต่อประเด็นคาดคะเนผล
        3.  การกำหนดวิธีค้นคว้าและการดำเนินการ  ประกอบด้วย
             3.1  จำแนกวิธีการค้นคว้า  คือ  การระบุแนวทางต่าง ๆ
             3.2  เลือกวิธีการค้นคว้าพร้อมระบุเหตุผล
             3.3  วางแผนค้นคว้าตามแนวทางที่ได้แสดงขั้นตอนการดำเนินการค้นคว้า
             3.4  การคาดคะเนสิ่งที่จะเป็นอุปสรรคในการค้นคว้า
             3.5  ดำเนินการค้นคว้า
        4.  การวิเคราะห์ผลการค้นคว้า  ประกอบด้วย
             4.1  การจำแนก  จัดกลุ่ม  และจัดลำดับข้อมูล
             4.2  การพิจารณาองค์ประกอบและความสัมพันธ์ของข้อมูล  โดยจัดลำดับความสำคัญ
        5.  การสรุปผลการค้นคว้า  ประกอบด้วย
             5.1  การสังเคราะห์ข้อมูล  คือ  การเรียบเรียงข้อมูลที่ค้นพบจากการค้นคว้าและสรุปเป็นประเด็น
             5.2  การอภิปรายผลการค้นคว้า  คือ การแสดงความเห็นอย่างมีเหตุผล  เกี่ยวกับประเด็น ที่พบจากการค้นคว้า  พร้อมทั้งแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ของข้อมูลที่ค้นพบ  ที่สามารถเรียบเรียงไป ถึงประเด็นค้นคว้าใหม่
             5.3  การสรุปกระบวนการในการค้นคว้า  คือ  การระบุขั้นตอนหลักของกระบวนการค้นคว้า
             5.4  การประเมินกระบวนการที่ใช้ในการค้นคว้า  คือ  การวิเคราะห์  จุดอ่อน  จุดแข็ง  และแนวทางแก้ไขกระบวนการค้นคว้าที่กำหนดในการประเมินทักษะการแสวงหาความรู้ ที่มาhttp://www.bangkapi.ac.th

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น