วันอังคารที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2556

ทักษะการทำงานร่วมกัน


ทักษะและวิธีการทำงานร่วมกัน
ทักษะและวิธีการทำงานร่วมกัน เป็นเรื่องเกี่ยวกับการติดต่อกับบุคคล สังคม และความสำคัญของการทำงานร่วมกันอย่างมีคุณภาพ เมื่องานที่ทำออกมามีคุณภาพ ก็แสดงให้เห็นความสามารถในการสื่อสาร และการติดต่อสื่อสารจะมีประสิทธิภาพย่อมขึ้นอยู่กับสถานการณ์ การยอมรับและโต้ตอบอย่างมีเหตุผล โดยไม่ก่อเกิดปฏิกิริยาที่ไม่พึงประสงค์   ขั้นตอน 4 อย่างที่ต้องเรียนรู้เพื่อจัดการกับสถานการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ต่าง ๆ ได้แก่ 
·       ค้นสาเหตุที่ทำให้มีการสื่อความเข้าใจผิด ๆ 
·       เรียนรู้วิธีการสื่อความเข้าใจที่มีคุณภาพ  
·       นำวิธีการต่าง ๆ มาใช้อย่างมีประสิทธิภาพให้ได้  
·       ค้นหาและหลีกเลี่ยงจุดบกพร่อง หรือจุดอ่อนในการใช้วิธีการนั้น ๆ 
การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ คนเราสามารถใช้วิธีง่าย ๆ ในการสื่อสาร และอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมี
ประสิทธิภาพ ดังนี้คือ
·       การวิเคราะห์ข้อมูลและการสะท้อนคำพูด ใช้ความพยายามที่จะเข้าใจข้อมูลทั้งหมดที่ได้ยิน
หรือได้เห็น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องคำพูด ท่าทาง น้ำเสียง และกิริยาอาการ โดยการจับประเด็นสำคัญ การทวนคำ(เน้นย้ำ) การสรุป การพูดซ้ำ
·       การโต้ตอบโดยไม่ใช้คำพูด แต่ด้วยการฟังอย่างตั้งใจ เราสามารถช่วยผู้อื่นได้โดยไม่ต้องพูด
การเงียบอย่างตั้งใจเป็นการกระตุ้นให้อีกฝ่ายพูด การตอบโต้โดยไม่พูดเป็นวิธีที่ดีในการป้องกันไม่ให้เราพูดอะไรออกไปโดยไม่ยั้งคิด สามารถรับรู้พฤติกรรมของตนเอง เข้าใจและเปลี่ยนรูปแบบให้ดีขึ้น การใช้ความเงียบจะช่วยให้เราประหยัดเวลา และได้รับรู้ปัญหาทุกขณะ และเมื่อถึงเวลาที่เราจะพูดก็สามารถตอบโต้ไปเป็นฉาก ๆ และการใช้ความเงียบจะช่วยให้เราสังเกตและรับรู้ปฏิกิริยาของอีกฝ่ายได้ดีโดยที่อีกฝ่ายล่วงรู้ความลับของเราน้อยมาก
·       การซักประเด็นโดยการตั้งคำถาม การถามว่า ทำไม เป็นการกระตุ้นให้อีกฝ่ายปกป้องตัวเองและ
หาเหตุผลมาอธิบาย การจับประเด็นจะช่วยให้เราสามารถมุ่งจุดของปัญหา และช่วยให้เราให้ความสนใจเฉพาะสิ่งที่ตัวเราและอีกฝ่ายจะต้องแก้ไข 
·       การแสดงออกและเน้นสิ่งที่คิดและรู้สึก การแสดงความรู้สึกความต้องการและความรับผิดชอบ
เป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างความสัมพันธ์ก็คือความยินดีจะปฏิบัติต่อบุคคลอื่นอย่างการปฏิบัติต่อตน ไม่ใช่ต่อสิ่งของ การใช้คำว่า “ฉัน” แบบเผชิญหน้าย่อมเป็นการแสดงให้เห็นว่าเรากำลังให้อะไรบางอย่างแก่อีกฝ่าย และบุคคลนั้นย่อมเชื่อถือเรามากขึ้นในความเปิดเผยของเรา
·       การมุ่งที่ข้อตกลง วิธีการมุ่งเฉพาะข้อตกงจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งเมื่ออีกฝ่ายเริ่มตำหนิ การ
เห็นพ้องกับอีกฝ่ายอาจทำให้เราตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบได้ และการเห็นพ้องกับผู้อื่นโดยเปิดทางเพื่อหารือ เช่น เห็นด้วยในบางส่วน เห็นด้วยเฉพาะส่วนที่เราสามารถจะตำลงได้ โดยให้ข้อมูลปราศจากการคัดค้าน เป็นการตอบโต้อีกฝ่ายในสิ่งที่เป็นความจริงโดยไม่จำเป็นต้องขัดแย้ง และยอมรับความผิด เผชิญหน้ากับการโจมตีในสิ่งที่เป็นความจริงด้วยการยอมรับความผิด
                ในการเผชิญกับปัญหาต่าง ๆ เราสามารถจะประยุกต์วิธีการและเทคนิคต่าง ๆ ถึง 5 วิธีการ คือ
                1. วิธีการรับฟังผู้อื่น และการสนับสนุนให้อีกฝ่ายเป็นผู้พูด โดยการใช้การโต้ตอบเป็นวิธีที่ใช้ได้ผลอย่างดีที่สุดในกรณีที่อีกฝ่ายมาหาเรา และต้องการให้เรารับฟัง วิธีนี้ทำได้ง่าย ๆ โดยการเป็นผู้ฟังไม่ต้องใช้ความคิดอะไรกับเนื้อหาสาระมากนัก นอกจากนั้นยังช่วยให้เราไม่สามารถต้องตกหลุมพรางจนกลายต้องรับผิดชอบกับปัญหาของคนอื่น
                2. วิธีการช่วยให้ผู้อื่นคิดแก้ปัญหาของตนเอง เป็นการรับฟังและตอบโต้   เพื่อเป็นการช่วยเกื้อหนุนให้อีกฝ่ายสามารถวิเคราะห์ปัญหาของตนเองได้จะชัดเจนยิ่งขึ้น โดยมีการเรียบเรียงขั้นตอนการคิดอย่างมีระบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการสะท้อนกลับจุดสำคัญของปัญหา คุณค่าของอีกฝ่ายที่มีต่อปัญหา ทางเลือกและการตัดสินใจช่วยให้อีกฝ่ายสามารถมุ่งไปยังการแก้ไขปัญหาแต่เพียงอย่างเดียว
                3. วิธีการช่วยเหลือผู้อื่นยอมรับผิด เป็นการพยายามช่วยให้อีกฝ่ายยอมรับผิดชอบและตัดสินใจด้วยตนเอง โดยชี้ให้เขาเห็นจุดสำคัญของปัญหาเพราะจะช่วยให้เขาสามารถมุ่งที่ตัวปัญหาโดยไม่ก่อให้เกิดความรู้สึกต่อต้าน มีอยู่ 4 ประการ คือ การค้นหาสำคัญของปัญหา การตัดสินปัญหา ทางเลือก การตัดสินใจ(แต่ทุกอย่างจะสำเร็จได้ก็ต้องลงมือปฏิบัติเสียก่อน)
                4. วิธีการต่อรอง   จุดสำคัญของการเจรจา-ต่อรองในกรณีที่เรามีปัญหา คือ การใช้คำว่า “ฉัน” เพื่อเรียกร้องในสิ่งที่เราต้องการแทนการใช้คำว่า “คุณ” เพราะทำให้อีกฝ่ายเกิดปฏิกิริยาต่อต้าน นอกจากนี้การรับฟังและการสะท้อนกลับก็มีความสำคัญพอ ๆ กัน เพราะช่วยให้เราเข้าใจ และตอบโต้อีกฝ่ายเพื่อหาทางออกได้เป็นที่พอใจของทั้ง 2 ฝ่าย
                5. วิธีการวิเคราะห์ปัญหา ไม่ว่าเราจะมีความสามารถในการจัดการกับบุคคลอื่นเพียงไรบางครั้งเราก็อาจจะถูกอีกฝ่ายใช้วิธีการแย่งอำนาจได้ และเมื่อเกิดกรณีอย่างนี้เราอาจจะเผลอตัวมีปฏิกิริยาตอบโต้ หรือต่อต้านกลับไป การวิเคราะห์ปัญหาเพียงต้องการหาวิธีการจัดการกับมันเท่านั้น หรือต้องการเปลี่ยนการจู่โจมเป็นการสนทนาแบบมุ่งที่ตัวปัญหา
............................................................ที่มาhttp://kmcdd.ecgates.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น